5 พฤติกรรมของผู้ปกครองที่ทำให้เด็กกลัว หมอฟัน

เวลาจะพาลูกน้อยไปพบ หมอฟัน แต่ละที เชื่อเลยว่าคุณพ่อคุณแม่คงต้องเหนื่อยที่จะต้องวิธีต่างๆ เพื่อพาลูกไปพบคุณหมออย่างแน่นอน ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่คงหนีไม่พ้นคือการกลัวหมอฟัน หรือกลัวสถานที่ทำฟัน

ความกลัวต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับเด็กนั้น ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นจากการสื่อสารและการปฏิบัติจากผู้ที่เลี้ยงดูเป็นหลักนั่นก็คือคุณพ่อคุณแม่ โดยอารมณ์กลัวนั้นก็สามารถเกิดขึ้นได้หากได้รับประสบการณ์ครั้งแรกหรือการโดนปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก ซึ่งก็หมายความว่าพฤติกรรมของคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองนั้นมีผลเป็นอย่างมาก วันนี้ BFC Dental เลยยก 5 พฤติกรรมของผู้ปกครองที่ทำให้เด็กกลัว หมอฟัน ให้คุณพ่อคุณแม่ลองเช็กลิสต์กันดูว่าเรากำลังปฏิบัติแบบนี้กับลูกน้อยของเราอยู่หรือเปล่า

หมอฟัน

  1. ข่มขู่เมื่อลูกดื้อหรือเกเร โดยการพูดถึงบุคคลที่สาม เช่น ถ้ายังดื้อจะให้ตำรวจจับ หรือให้คุณหมอฉีดยา ซึ่งการข่มขู่ลักษณะนี้ก็จะทำให้เด็กจดจำ และมีทัศนคติในด้านลบกับบุคคลที่ผู้ปกครองเคยขู่เอาไว้ ก็เป็นสาเหตุอันดับต้นๆ หากผู้ปกครองใช้คำพูดข่มขู่ลูกน้อย เด็กก็จะมีความฝังใจว่าเขาได้ทำความผิดผู้ปกครองเลยต้องพาเขามาหาหมอและโดนฉีดยา เด็กจะรู้สึกทันทีว่าเขากำลังโดนทำโทษอยู่ ซึ่งก็ทำให้ลูกน้อยของคุณไม่ให้ความร่วมมือในการไปหาหมอฟันแน่นอน ทางที่ดีที่สุดควรพูดหรือบอกกล่าวด้วยเหตุผลว่าสิ่งที่เขาทำเป็นผลดีหรือไม่ดีกับตัวเขาในอนาคตอย่างไร ดีกว่าการขู่ให้เด็กเกิดความกลัว
  2. ขาดการปลูกฝังทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการดูแลรักษาช่องปาก เป็นเรื่องปกติของวัยเด็กที่ชอบรับประทานของหวาน ขนมขบเคี้ยว แต่ผู้ปกครองก็ต้องมีหน้าที่คอยปฏิบัติและคอยอบรมลูกว่าหลังจากรับประทานอาหารหรือขนมขบเคี้ยวต้องทำความสะอาดช่องปากและฟัน เพื่อป้องกันฟันผุ และให้เหตุผลว่าถ้าไม่รักษาความสะอาดจะเกิดผลกระทบอะไรกับช่องปากและฟันของเราบ้าง ทั้งนี้ การที่ผู้ปกครองปฏิบัติให้เป็นตัวอย่างกับลูก ก็เป็นการปลูกฝังในด้านพฤติกรรมที่ดีให้กับเด็กได้เช่นกัน
  3. แสดงความกลัวการพบทันตแพทย์ซะเอง เชื่อได้เลยว่าไม่เพียงแต่เด็กเท่านั้นที่จะกลัวการเข้าพบหมอฟัน สำหรับผู้ใหญ่บางคนอาจจะกลัวในเรื่องเครื่องมือแพทย์ หรือกลัวเสียงการทำฟัน รวมถึงกลัวเจ็บระหว่างการทำฟันและหลังการทำฟัน แต่ทั้งหมดนั้นเราควรคำนึงไว้เสมอว่าการแสดงออกถึงความกลัวให้ลูกเห็นก็เป็นภาพจำให้กับลูกด้วยเช่นกัน สิ่งที่ผู้ปกครองทำได้คือการข่มอารมณ์กลัว เนื่องจากผู้ใหญ่จะสามารถควบคุมอารมณ์และความรู้สึกได้มากกว่าเด็กนั่นเอง และต้องคิดว่าการเข้าคลินิกทำฟันหรือศูนย์ทันตกรรมเป็นผลดีกับเราและลูกน้อย เพื่อสุขภาพช่องปากและฟันที่แข็งแรง
  4. ตามใจลูกเมื่อไม่ยอมไปพบหมอฟัน ซึ่งเป็นการทำร้ายลูกทางอ้อม อาจจะด้วยลูกงอแงมากเมื่อต้องรู้ว่าตนเองต้องไปหาหมอฟันจนผู้ปกครองควบคุมลูกไม่อยู่ ต้องจำใจไม่พาไปหาหมอ และจะส่งผลให้เด็กในอนาคตรวมถึงเรื่องอื่นๆ ด้วย เพราะเด็กจะต่อต้านคำพูดของผู้ปกครอง เนื่องจากเขาได้เรียนรู้แล้วว่าเขาต้องไปหาหมอฟันแต่พ่อแม่สามารถกลับคำหรือเปลี่ยนใจได้ถ้าเขาแสดงอาการงอแง และผลที่ตามมาก็คือเด็กจะไม่คิดถึงผลที่ตามมาจากการไม่ดูแลรักษาสุขภาพช่องปาก เพราะฉะนั้นผู้ปกครองควรต้องเด็ดขาดและไม่ปฏิเสธการพาลูกไปหาหมอฟันแม้ลูกจะงอแง รวมถึงต้องอธิบายข้อดีและผลกระทบที่จะตามมาหากละเลยการดูแลตนเอง
  5. หยุดโกหกเพื่อหลอกล่อ เนื่องจากจะทำให้ลูกไม่ไว้ใจในการกระทำของผู้ปกครอง ซึ่งหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่คือ ต้องพูดหรืออธิบายให้ลูกเข้าใจและสร้างภาพพจน์ที่ดีให้กับทันตแพทย์และสถานทันตกรรมได้ในด่านแรก เป็นการกระตุ้นให้ลูกนึกถึงแต่สิ่งดีๆ เมื่อต้องไปหาหมอฟันและลดความกังวลของเด็กไปได้ และเด็กควรรู้ล่วงหน้าว่าตัวเขาต้องไปพบหมอฟันเพื่อเตรียมตัว ที่สำคัญหากเด็กต้องได้รับการฉีดยาหรือกระบวนการรักษาที่เป็นเรื่องละเอียดอ่อนสำหรับเด็ก ก็ควรต้องบอกเขาเช่นกัน ด้วยวิธีการ “วันนี้ลูกต้องฉีดยานะ เจ็บนิดเดียว” “ลูกเก่งอยู่แล้ว ต้องทำได้แน่”  และหลังจากการทำฟันเสร็จก็ควรให้คำชมเชยกับเด็กที่ให้ความร่วมมือกับคุณหมอด้วยเช่นกัน เพื่อเป็นการสร้างกำลังใจและทัศนคติที่ดีในการทำฟันและเรื่องอื่นๆ ได้ด้วยในอนาคต

 

 

Recommended Posts