ปวดฟันคุด สามารถถอนหรือผ่าเลยได้ไหม

ปวดฟันคุด สามารถถอนหรือผ่าเลยได้หรือไม่ ตามความเข้าใจเดิมส่วนใหญ่อาจมีความเข้าใจว่าขณะปวดฟันอยู่ไม่สามารถถอนหรือผ่าฟันได้ แต่ในความจริงแล้วเป็นอย่างไร BFC Dental มีคำอธิบายมาให้

ฟันคุด มีลักษณะและมีสาเหตุมาจากอะไร

ฟันคุดคือฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้ตรงหรือขึ้นตามแนวฟันที่ควรจะเป็นได้ เพราะเนื้อที่ในการขึ้นของฟันไม่เพียงพอ ซึ่งอาจจะโผล่มาได้เพียงแค่บางส่วน ในลักษณะตั้งตรง เอียง หรือนอนแนวระนาบ ซ่อนอยู่ภายใต้เหงือกไม่โผล่ขึ้นมาเนื่องจากฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรทั้งซี่

สาเหตุของการเกิดฟันคุด ส่วนใหญ่เกิดจากกระดูกขากรรไกรมีพื้นที่ไม่สัมพันธ์กับขนาดของฟัน เช่น ผู้ที่มีขากรรไกรเล็กแต่มีขนาดฟันที่ใหญ่ จึงทำให้ฟันไม่สามารถงอกขึ้นได้ตามธรรมชาติของแนวขากรรไกร จึงทำให้ฟันคุดที่เกิดขึ้นพ้นเหงือกได้เพียงเล็กน้อยหรือจมอยู่ใต้เหงือกเลยก็ได้ โดยส่วนมากฟันคุดจะขึ้นในช่องปากในช่วงอายุเฉลี่ย 18-25 ปี และอาการที่เกิดขึ้นก็สามารถเกิดขึ้นได้หลากหลาย โดยอาการเริ่มแรกอาจจะมีอาการปวดเป็นๆ หายๆ รวมถึงบวม ตึง บริเวณท้ายเหงือกช่วงฟันกราม ซึ่งบางรายส่งผลให้มีใบหน้าที่บวมจากอาการอักเสบด้วย ระยะขั้นต่อมาคือระยะติดเชื้อ ก็จะทำให้มีอาการเริ่มปวดเหงือก ปวดฟันเพิ่มมากขึ้นจากเดิมนั่นเอง

ฟันคุด จำเป็นต้องถอนหรือผ่าออกหรือไม่

คำตอบคือ ฟันคุด มีความจำเป็นต้องถอนหรือผ่าออก ไม่ว่าจะมีอาการปวดหรือไม่มี โดยมีจุดประสงค์ คือ

  • เพื่อป้องกันการเกิดอาการอักเสบของเหงือกที่ฟันคุดไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติ และโรคปริทันต์ รวมถึงทำให้ฟันซี่ข้างๆ มีโอกาสผุได้ด้วย เนื่องจากเกิดเศษอาหารที่ติดบริเวณซอกฟันที่ไม่สามารถทำความสะอาดได้ทั่วถึง ทำให้แบคทีเรียเกิดการสะสม และมีอาการปวด บวม เป็นหนอง ซึ่งร้ายแรงที่สุดคือทำให้เชื้อโรคเกิดการแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ด้วย
  • เพื่อให้เกิดการเคลื่อนที่ของฟันซี่อื่นให้เป็นในทางที่ดีขึ้น สำหรับกรณีผู้ที่เข้ารับการจัดฟัน การนำฟันคุดออกเพื่อให้งานต่อการเคลื่อนตัวของฟันซี่อื่นๆ ได้ดีขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับกรณีไป ซึ่งฟันคุดบางประเภทก็สามารถควรคงไว้เพราะเป็นประโยชน์ต่อการจัดฟัน
  • ป้องกันกระดูกขากรรไกร เพราะการที่มีฟันคุดอยู่ เป็นการทำให้กระดูกขากรรไกรมีลักษณะบางกว่าตำแหน่งอื่น หากได้รับการกระแทกแรงๆ หรือได้รับอุบัติเหตุบริเวณนั้น อาจส่งผลให้กระดูกขากรรไกรหักหรือเสียหายได้

ปวดฟันคุด

หากมีอาการ ปวดฟันคุดแล้ว สามารถถอนหรือผ่าได้เลยหรือไม่

ตามความเข้าใจของคนส่วนใหญ่ มีความเข้าใจว่าหากมีอาการปวดฟัน ทันตแพทย์จะไม่ทำการถอนฟัน เนื่องจากจะทำให้เลือดของแผลนั้นหยุดไหลหรือเกิดการอักเสบมากขึ้น แต่แท้จริงแล้วกรณีที่มีอากาปวดฟันคุดหรืออาการปวดฟัน ทันตแพทย์จะประเมินอาการของคนไข้ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กรณีคือ

  • กรณีที่คนไข้มีอาการปวด แต่ไม่มีฟันผุและยังไม่ทะลุถึงโพรงประสาท ก็สามารถถอนหรือผ่าได้ทันทีเลย ขึ้นอยู่กับความพร้อมของคนไข้ และข้อดีก็คือจะสามารถลดอาการปวดของฟันได้ทันที
  • กรณีที่คนไข้มีอาการติดเชื้อรุนแรง และมีโรคประจำตัวที่มีผลเกี่ยวกับการผ่าตัด เช่น คนไข้เป็นโรคความดัน ด้วยขั้นตอนของการผ่าหรือถอนฟันคุดจำเป็นต้องใช้ยาชา ซึ่งยาชาจะมีผลทำให้ความดันสูงขึ้น เพราะฉะนั้นหากคนไข้มีอาการติดเชื้อที่เกิดจากอาการฟันคุดก็สามารถผ่าหรือถอนออกได้เช่นกัน แต่มีความจำเป็นจะต้องปรึกษาแพทย์ประจำเกี่ยวกับโรคความดันก่อนเข้ารับการผ่าฟันคุด เพื่อความปลอดภัยของคนไข้
  • บางกรณีคนไข้อาจต้องเข้ารับการถอนหรือผ่าทันที เนื่องจากหากปล่อยไว้อาจทำให้เกิดอาการอักเสบหรือติดเชื้ออย่างรุนแรง

ดังนั้น หากทราบว่าตนเองกำลังมีฟันคุด ควรรีบเข้าพบทันตแพทย์ เพื่อเข้านัดว่าถอนหรือผ่าฟันคุดออก ไม่ควรรอให้มีอาการปวดหรือบวม เพราะจะทำให้เกิดอันตรายและมีอาการเจ็บปวดมากกว่า รวมถึงทำให้การรักษายากขึ้นอีกด้วย

Recommended Posts