แก้ไข ฟันปลอมหลวม – หลุด – บดเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด

หลังจากที่คนเราสูญเสียฟันไปทั้งปากสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือกระดูกเบ้าฟันเดิมจะทรุดตัวลง  จากวันเป็นเดือนข้ามจนเป็นปี สภาพสันเหงือกภายหลังถอนฟันที่เดิมยังเห็นความสูงโค้งนูนอยู่ก็เริ่มเตี้ยลงจนกระทั่งแบนราบ คนไข้สูงวัยส่วนใหญ่ที่ใส่ฟันปลอมทั้งปากจึงมักพบเจอปัญหาต่างๆดังนี้

  • ฟันปลอมหลวม ไม่กระชับ บางครั้งเวลาพูดก็หลุดออกมา
  • เคี้ยวและบดอาหารได้ไม่ละเอียด
  • เวลากัดเคี้ยวขณะรับประทานอาหารฟันปลอมมักกดเหงือกเจ็บเนื่องจากฟันปลอมเคลื่อนที่ไปมา
  • ปัญหาเรื่องระบบทางเดินอาหารเพราะอาหารไม่ย่อย  ขาดสารอาหาร  เพราะไม่สามารถเคี้ยวและรับประทานอาหารได้ครบหมู่ตามปกติ

คนไข้ฟันปลอมทั้งปากมักมีปัญหาที่ฟันปลอมล่างมากกว่าฟันปลอมบน เนื่องจากขากรรไกรบนมีเพดานปากที่โครงสร้างเป็นกระดูกแข็งจึงมีการละลายตัวน้อยมากเมื่อเทียบกับกระดูกเบ้าฟัน ดังนั้นเพดานแข็งยังช่วยพยุงฟันปลอมบนได้มากกว่าฟันปลอมล่างที่มีลิ้นอยู่ตรงกลาง เมื่อลิ้นมีการขยับซ้ายขวา ขึ้นและลง ฟันปลอมล่างจึงโคลงไปมาพร้อมจะหลุดออกจากปากคนไข้ตลอดเวลา

ฟันปลอมหลวม

ภาพที่1: ตัวอย่างสภาพสันเหงือกล่างที่ยังเห็นความสูงโค้งนูนภายหลังถอนฟันทั้งปากไม่นาน  

ฟันปลอมหลวม

ภาพที่2: ตัวอย่างสภาพสันเหงือกล่างแบนราบภายหลังถอนฟันทั้งปากไปนานหลายปี

“ด้วยปัญหาต่างๆดังที่กล่าวมานี้  ในปีค.ศ.2002 ที่เมืองมอนทรีล ประเทศแคนาดา ได้มีข้อสรุปจากผู้เชี่ยวชาญในวงการทันตกรรมได้ระบุเป็นข้อความสำคัญในMcGill Consensus ให้การใส่ฟันปลอมทั้งปากล่าง มี 2รากเทียมพร้อมตัวยึดเป็นตัวเลือกแรกในการให้บริการการรักษากับกลุ่มคนไข้กลุ่มนี้ โดยอาศัยฐานข้อมูลต่างๆทั้งก่อนและหลังการรักษามาประเมิน เช่น ประเมินความพึงพอใจของคนไข้  ประเมินคุณภาพของชีวิต  ประเมินการใช้ชีวิตอยู่ในสังคม  ประเมินโภชนาการต่างๆที่ได้รับ รวมถึง ประเมินค่าใช้จ่ายที่ใช้ในกาเข้ารับรักษา” 

นวัตกรรมรากเทียมเล็กพร้อมตัวยึดได้รับการยอมรับจาก FDA องค์กรอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี1997 ว่าเป็นทางเลือกหนึ่งที่ประสบความสำเร็จระยะยาว (long term treatment solution) ในการแก้ไขปัญหาฟันปลอมหลวมให้กับคนไข้ฟันปลอมทั้งปาก  และรากเทียมเล็กพร้อมตัวยึด Locator เป็นตัวเลือกแรกของผมเพื่อทำการรักษาให้คนไข้กลุ่มนี้  

รากเทียมเล็กพร้อมตัวยึด Locator ผลิตโดยบริษัท Zest Dental Solution ที่ตั้งอยู่ที่เมืองซานดิเอโก  รัฐคาลิฟอร์เนีย  ประเทศสหรัฐอเมริกา  ซึ่งมีข้อดีในประเด็นหลักๆซึ่งแบ่งเป็นหัวข้อได้ดังนี้

1. เพราะขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของรากเทียมเล็กน้อยกว่า 3 มิลลิเมตร (มี 2 ขนาด D2.4 mm และ D2.9 mm) ความหนาของกระดูกที่มีความหนาเพียง 4-5 มิลลิเมตรก็สามารถใส่ได้โดยไม่ต้องมีการเสริมกระดูก

ฟันปลอมหลวม

2. แผลผ่าตัดใส่รากเทียมเป็นแผลขนาดเล็ก ทำให้แผลหายเร็ว ไม่เจ็บแผลนาน  อีกทั้งคนไข้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวที่ต้องได้รับการควบคุมดูแลอย่างดีสามารถรับการรักษาด้วยรากเทียมเล็กโดยไม่มีผลข้างเคียงต่อสุขภาพร่างกายทั่วไป

ฟันปลอมหลวม

3. ค่าใช้จ่ายของรากเทียมเล็กพร้อมตัวยึด Locator เทียบเป็น 50% ของค่าใช้จ่ายในการรักษาด้วยรากเทียมทั่วไปทั้งในสหรัฐอเมริกา ประเทศทางกลุ่มยุโรป รวมถึงประเทศไทย 

 

4. ตัวยึด Locator ประกอบด้วยหัว Locator (สีทอง) ที่ยึดอยู่กับรากเทียมเล็ก  ส่วนปลอกโลหะเงินที่มียาง Nylon ด้านในจะถูกยึดเข้ากับฐานฟันปลอม  โดยทำหน้าที่ยึดฟันปลอมกับหัว Locator ยาง Nylon มีอายุคงทน  อีกทั้งมีหลายสี หลายระดับแรงเป็นตัวเลือกให้เหมาะสมกับคนไข้ในการใช้งานและถอดใส่

      

5. หลังฝังรากเทียมเล็กพร้อมใส่ตัวยึด Locator กับฐานฟันปลอมคนไข้จะสามารถใช้งานได้ทันทีหลังการรักษา

ช่วงท้ายของบทความ  ผมขอนำเสนอกรณีตัวอย่างการแก้ไขฟันปลอมล่างหลวมด้วยรากเทียมเล็กพร้อมตัวยึด Locator ให้กับคนไข้หญิงวัย 52 เสร็จภายในระยะเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง (138นาที) เคสนี้คนไข้มีฟันปลอมล่างเดิมอยู่และฟันปลอมยังอยู่ในสภาพดี ขั้นตอนของการรักษาเป็นไปตามขั้นตอนดังนี้

ฟันปลอมหลวมฟันปลอมหลวม

 

ฟันปลอมหลวม

ฟันปลอมหลวมบทความโดย ทันตแพทย์มงคล ทวีปรังษีพร (หมอเม่น)

Recommended Posts