วิธีสังเกตอาการ “เหงือกร่น”

เหงือกร่น ปัญหาสุขภาพเหงือกอีกหนึ่งปัญหาที่ส่วนใหญ่มักจะพบกันโดยไม่รู้ตัว และสามารถส่งผลถึงสุขภาพฟันได้อีกด้วย แล้วอาการเหงือกร่นมีสัญญาณเตือนที่เราสามารถสังเกตตนเองได้หรือไม่? BFC Dental จะมาแนะนำเพื่อให้ทราบวิธีดูแลและป้องกันเหงือกร่นได้ถูกต้อง

เหงือกร่น สาเหตุเกิดจากอะไร?

เหงือกร่น เป็นอาการบ่งบอกถึงสุขภาพเหงือกอ่อนแอและอาจมีอาการอักเสบร่วมด้วย หากสังเกตได้ง่ายๆ คือ ถ้าฟันของเรามีลักษณะยาวขึ้นนั่นหมายถึงภาวะที่เหงือกร่นลงไปหารากฟัน เนื้อฟันของเรายิ่งมีโอกาสสัมผัสกับเชื้อโรคและแบคทีเรียได้ง่ายขึ้น ร้ายแรงที่สุดหากไม่ได้รับการรักษาได้ทันเราจะต้องสูญเสียฟันแท้ไปอย่างถาวร ซึ่งสาเหตุของการทำให้เหงือกร่น คือ

การเกิดอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนกับเหงือกโดยตรง เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์ การออกกำลังกายที่มีการปะทะกันระหว่างอุปกรณ์หรือร่างกาย ได้รับแรงกระแทกที่ปากและเกิดบาดเจ็บ ก็สามารถทำให้เนื้อเยื่อเหงือกเกิดตายและร่นเข้าหารากฟัน

การใส่อุปกรณ์จัดฟันประเภทโลหะนานเกินความจำเป็น เนื่องจากอุปกรณ์จัดฟันมีหน้าที่ทำให้ฟันมีการเคลื่อนที่ หากบางคนปล่อยระยะเวลาไว้นานจนเกินไปไม่เข้าพบทันตแพทย์ตามนัด เครื่องมือจัดฟันจะส่งผลต่อเหงือกได้เช่นกัน เพราะทันตแพทย์จะคำนวณระยะเวลาเพื่อให้ฟันเคลื่อนที่ตามแผนการรักษา บางคนปล่อยไว้เป็นเวลานานก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เหงือกร่นได้เช่นกัน กรณีนี้รวมถึงผู้ที่ใส่เครื่องมือจัดฟันแน่นจนเกินไปด้วย เพราะจะทำให้เครื่องมือบีบรัดเหงือกจนเกินไปก็ทำให้เหงือกเกิดการระคายเคืองและทำให้เหงือกอ่อนแอ และร่นเข้าหาเนื้อฟันได้

ทำความสะอาดฟันผิดวิธี / ไม่สะอาดพอ เช่น การแปรงฟันแรงหรือการเลือกแปรงสีฟันที่มีขนแข็งจนเกินไป ซึ่งอาจะทำให้เหงือกเกิดการอักเสบได้ และการแปรงฟันไม่สะอาด ไม่ได้ใช้ไหมขัดฟันหรือน้ำยาบ้วนปากทำความสะอาดร่วมด้วย ทำให้เศษอาหารติดตามซอกฟันจนเกิดคราบหินปูน หากไม่ได้ทำการรักษาหินปูนที่เกาะติดอยู่ก็เป็นสาเหตุทำให้เหงือกร่นได้

พฤติกรรมส่วนตัว เช่น ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ทำให้เกิดคราบหินปูนจากสารเคมีที่เป็นส่วนประกอบของเหล้าและบุหรี่ ทำให้เกิดคราบที่ทำให้ยากต่อการทำความสะอาด และคราบหินปูนจะค่อยๆ ก่อตัวและทำลายเหงือกไปเรื่อยๆ จนทำให้เหงือกร่น รวมถึงพฤติกรรมการนอนกัดฟันด้วย เมื่อเกิดแรงกดแรงเคี้ยวหนัก ก็ส่งผลทำให้เหงือกนั้นร่นไปถึงโคนฟัน

เหงือกร่น

วิธีสังเกตอาการ เหงือกร่น

  • มีอาการปวดฟัน เสียวฟัน ขณะรับประทานอาหาร
  • ตัวฟันมีลักษณะยาวขึ้นและเหงือกสั้นลง
  • ฟันเริ่มโยก
  • เริ่มมีกลิ่นปาก
  • มีเลือดออกตามไรฟันเวลาแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน
  • มีอาการเจ็บปวด

ป้องกันหรือรักษาอย่างไร?

ในกรณีที่คนไข้เหงือกร่นแล้วและเข้ารับการรักษา ทันตแพทย์จะเริ่มวินิจฉัยจากสาเหตุและพฤติกรรมของคนไข้ก่อน หากเหงือกมีความเสียหายมากทันตแพทย์จะใช้วิธีการรักษาเพื่อให้เหงือกไม่ร่นมากไปกว่าเดิม เนื่องจากธรรมชาติของเหงือกสามารถฟื้นฟูได้ตามสุขภาพร่างกายและการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากเหงือกและฟันของเราเอง เพราะฉะนั้นแนวทางการรักษาอาการเหงือกร่น อาจไม่ใช่เพียงการรักษาจากวิธีของทันตแพทย์เท่านั้น แต่ตัวคนไข้เองก็ต้องดูแลตนเองให้มากขึ้นด้วยการทำความสะอาดช่องปากให้ดีขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เหงือกร่นมากกว่าเดิม รวมถึงการเกิดภาวะแทรกซ้อนและโรคเหงือกได้

ป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงเหงือกร่น ง่ายที่สุดคือ การลดหรืองดพฤติกรรมที่ส่งผลกับช่องปากโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการงดสูบบุหรี่ เพราะสารพิษในบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เหงือกร่น แม้แต่การทำความสะอาดด้วยการแปรงฟันที่แรงจนเกินไป ก็ควรลดน้ำหนักมือให้เบาลง เลือกแปรงสีฟันให้ขนนุ่มขึ้น เพื่อลดความเสียหายของเหงือก รวมถึงไม่ทำให้เหงือกระคายเคืองและเป็นแผลได้ เมื่อดูแลสุขภาพช่องปากดีแล้วอย่าลืม เข้าพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากทุก 6 เดือน เพื่อเช็กสภาพเหงือกและฟันว่าแข็งแรงและรับทราบถึงปัญหาเหงือกและฟันอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย หรือสำหรับผู้ที่สงสัยและกำลังมีปัญหากังวลว่าเหงือกของเรายังมีสุขภาพดีอยู่หรือไม่ สามารถเข้ารับคำปรึกษาและคำแนะนำได้จากทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่ BFC Dental ทุกสาขา

 

Recommended Posts