หากต้องเตรียมตัวรักษารากฟัน มารู้ ขั้นตอนรักษารากฟัน ไว้ก่อนกันเถอะ

 

ขั้นตอนรักษารากฟัน

ก่อนจะรู้ในเรื่องของ ขั้นตอนรักษารากฟัน เราลองมาดูกันก่อนดีกว่าว่าทำไมเราต้องรักษารากฟัน การรักษารากฟันคือการตัดโพรงประสาทฟัน เนื้อเยื่อ แล้วทำความสะอาดด้วยการจัดรูปทรง อุด โดยจะเป็นกระบวนการปิดคลุมรากฟัน ซึ่งเป็นแนวทางการรักษาแทนการถอนฟันและป้องกันไม่ให้คนไข้ต้องสูญเสียฟันแท้

แต่การรักษารากฟันก็ไม่ได้อาจเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับคนไข้ทุกคน หากรากฟันของบางคนได้ถูกทำลายไปเกือบหมดแล้ว เนื่องจากปล่อยระยะเวลาไว้นานจึงทำให้เกิดการลุกลามถึงโพรงประสาทฟันนั่นเอง หรืออาจเรียกได้ว่าเกิดภาวะ “ฟันตาย” แล้วสาเหตุสามารถเกิดได้จาก….

  • ปล่อยให้ฟันผุเป็นเวลานาน
  • ฟันแตก / ฟันร้าว จากการกัดของแข็งหรือได้รับอุบัติเหตุรุนแรง
  • ฟันโยก
  • เหงือกอักเสบ

โดยลักษณะฟันดังกล่าว เมื่อเกิดขึ้นแล้วแต่ละเลยการรักษาตามแนวทางที่ควรจะเป็น เช่น การอุดฟันเมื่อฟันผุ หรือการรักษารากฟันเพื่อคงสภาพฟันแท้ไว้ ซึ่งปกติเนื้อเยื่อจะสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคและต้านการอักเสบที่ไม่รุนแรงได้ ซึ่งอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรงจะเกิดขึ้นจากสาเหตุข้างต้น นั่นหมายถึงฟันของคุณติดเชื้อและเกิดอาการอักเสบแล้ว เป็นไปได้ว่าคุณมีความเสี่ยงสูงที่จะสูญเสียฟันแท้อย่างถาวร

การรักษาตามแนวทางเมื่อฟันเป็นรู อาจทราบกันดีอยู่แล้วว่าสามารถรักษาได้โดยการอุดฟัน แต่หากคนไข้มีฟันผุมากจนทะลุโพรงฟันหรือเกิดหนองบริเวณปลายราก ไปจนถึงการอักเสบที่ทำให้เนื้อเยื่อในโพรงฟันเกือบตายก็สามารถรักษาได้โดยวิธี “รักษารากฟัน”

ขั้นตอนการรักษารากฟัน เป็นอย่างไร….

ขั้นตอนรักษารากฟัน

  • ตรวจสุขภาพฟันและถ่ายภาพเอกซเรย์เพื่อให้ทันตแพทย์ประเมินว่าคนไข้ยังมีรากฟันหรือโพรงประสาทฟันดีอยู่เพื่อทำการรักษาหรือไม่
  • เริ่มการรักษาคลองรากฟันโดยการขูดเนื้อฟันที่เสียหายออก (ทั้งโพรงประสาทและคลองรากฟัน) เพื่อทำความสะอาดและปราศจากเชื้อก่อน
  • เริ่มอุดคลองรากฟันและโพรงประสาทฟันด้วยวัสดุอุดฟันชั่วคราว โดยใช้กล้องจุลทรรศน์สำหรับการรักษาทางทันตกรรมโดยเฉพาะ แต่ก่อนการอุด ทันตแพทย์ต้องแน่ใจก่อนว่ารากฟันไม่มีการอักเสบแล้วรวมถึงการใส่ยาฆ่าเชื้อลงบริเวณรากฟันด้วย
  • ใส่ครอบฟัน เพื่อป้องกันฟันผุหรือฟันแตกโดยยึดติดเข้าด้วยกันกับปูนสำหรับอุดฟัน และตกแต่งให้รูปร่างและขนาดของฟันได้ใส่ให้พอดีกับการครอบฟัน
  • หลังจากนั้นคนไข้ต้องดูแลตนเองหลังจากรักษารากฟันเสร็จ โดย 2 – 3 วันแรกนั้นอาจจะมีความรู้สึกแถวๆ เหงือก ขากรรไกร บริเวณที่รักษารากฟันนิ่มๆ  รวมถึงมีความรู้สึกมีสิ่งแปลกปลอมอยู่บริเวณดังกล่าวด้วย

การรักษารากฟันเป็นการรักษาที่ต้องใช้ระยะเวลาเนื่องจากทันตแพทย์ต้องแน่ใจและประเมินอาการของคนไข้แต่ละเคสให้ชัดเจนก่อนการรักษาในแต่ละขั้นตอน เพราะรากฟันมีลักษณะที่เล็กและบอบบางมาก จึงมีการรักษาที่ค่อนข้างละเอียดเพราะฉะนั้นการรักษาจะไม่สามารถจบได้ในครั้งเดียว และหลังจากการรักษาหากมีอาการเจ็บปวด สามารถบรรเทาด้วยยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟน แต่ถ้ามีอาการปวดรุนแรงเป็นเวลาหลายวันควรรีบแจ้งทันตแพทย์ที่รักษาให้ทราบโดยเร็วเพื่อหาสาเหตุและทำการรักษาต่อไป

Recommended Posts