เติมกระดูก เพราะ กระดูกไม่พอ มีขั้นตอนอย่างไรบ้างนะ
กระดูกไม่พอ อีกหนึ่งปัญหาสำหรับผู้ที่ต้องเข้ารับการรักษาด้วยการใส่รากเทียม แต่ก่อนอื่นต้องเข้ารับการการรักษาก่อนการฝังรากเทียมนั่นก็คือการเติมกระดูก BFC Dental จะมาเล่าขั้นตอนของวิธีการเติมกระดูกสำหรับเคสคนไข้ที่กระดูกฟันไม่พอให้เห็นภาพมากขึ้น กระดูกไม่พอ รักษาด้วยการเติมกระดูกก่อนการฝังรากเทียมเพื่อทดแทนฟันที่สูญเสียไป มีขั้นตอนอย่างไร?
ในหลายๆ เคสที่คนไข้ที่มีการสูญเสียฟันเป็นระยะเวลานานหลายปี สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือจะมีการยุบตัวของกระดูก ซึ่งจะทำให้การใส่รากเทียมมีความซับซ้อนมากขึ้น โดยต้องมีการใช้เทคนิคเพิ่มเติมคือการเติมกระดูก เนื่องจากมีกระดูกไม่เพียงพอที่จะใส่รากเทียม โดยตำแหน่งรากเทียมที่เหมาะสมควรจะมีกระดูกครอบคลุมโดยรอบอย่างน้อย 1.5 – 2.0 มม.
นอกจากนั้นอีกหนึ่งเทคนิคที่ได้ใช้ในการรักษาเพิ่มเติมคือใช้เทคนิคการเจาะเลือดคนไข้เพื่อให้ได้แผ่นที่มีลักษณะสีขาว หรือที่ เรียกว่า Platelet Rich Fibrin (PRF) จะทำหน้าที่เป็นแหล่งกักและปลดปล่อย Growth factor ที่มีคุณสมบัติคือ การสังเคราะห์คอลลาเจน, กระตุ้นการแบ่งเซลล์, กระตุ้นการเจริญของหลอดเลือด, ช่วยเรียกเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันในบริเวณที่เกิดการบาดเจ็บ นั่นหมายความว่าในทางทันตกรรมจะนำสารเกล็ดเลือดของคนไข้มาใช้เพื่อกระตุ้นให้แผลมีการสมานตัวเร็วขึ้น จึงทำให้แผลหายเร็วทั้งส่วนเนื้อเยื่ออ่อนและเนื้อเยื่อแข็ง โดย PRF จะมีลักษณะเป็นแผ่นเจลที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นโดยมีวิธีการดังนี้
- เจาะเลือดของคนไข้ประมาณหนึ่ง เพื่อนำเข้าเครื่องปั่น (Centrifuge)
- จากนั้นจะได้แผ่นเจลหรือ PRF
- นำแผ่นไปปิดทับตรงบริเวณที่เติมกระดูก เพื่อกระตุ้นการทำงานของเกล็ดเลือด
เพราะฉะนั้น PRF (Platelet Rich Fibrin) ทำหน้าที่เพื่อให้กระดูกที่มีการเติมเข้าไปสมานกับกระดูกของคนไข้ได้เร็วขึ้น นอกจากนั้นยังมีสารในการหยุดเลือด และมีคุณสมบัติเหล่านี้จะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น และลดอาการปวดหรือบวมหลังการผ่าตัดอีกด้วย