กิจกรรมที่ไม่ควรทำหาก กำลังใส่รากเทียม อยู่

ใครที่ กำลังใส่รากเทียม อยู่ ต้องมีข้อจำกัดด้วยหรือ? BFC Dental เลยอยากจะมาเล่าให้ฟังถึงผู้ที่กำลังเข้ารับการรักษาโดยการฝังรากเทียม รวมถึงกิจกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง และวิธีการสังเกตตนเองหากมีอาการผิดปกติระหว่างใส่รากเทียม เพื่อให้ปฏิบัติตนและดูแลตนเองได้อย่างถูกวิธีเลี่ยงกิจกรรมและพฤติกรรมเคยชินถ้า กำลังใส่รากเทียม อยู่

  1. ไม่ควรทานอาหารที่มีลักษณะแข็ง เหนียว หรืออาหารที่ทำให้ต้องออกแรงเคี้ยวเยอะๆ ทำให้ส่งผลไปยังรากเทียมหรือทำให้รากเทียมหลุดได้ หากรากเทียมหลุดการแก้ไขเพื่อให้รากเทียมกลับเข้าที่เหมือนเดิมจะมีกระบวนการและวิธีการที่ซับซ้อนมาก และแน่นอนว่าคนไข้อาจมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย
  2. ไม่รักษาความสะอาดภายในช่องปาก หากขาดการดูแลเอาใจใส่ในเรื่องนี้นอกจากจะส่งผลถึงสุขภาพช่องปากและฟันเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว ยังส่งผลต่ออายุการใช้งานของรากเทียมด้วย ถ้าไม่ดูแล การใช้งานของรากเทียมก็จะมีอายุน้อยลงหรือส่งผลร้ายแรงที่สุดคืออาจทำให้รากเทียมเสื่อมสภาพ การใส่รากเทียมใหม่อาจจะเป็นเรื่องยาก เพราะสุขภาพช่องปากไม่ได้รับการดูแล ซึ่งเป็นไปได้ว่าปริมาณกระดูกและเหงือกโดยรวมก็อาจจะไม่เพียงพอต่อการฝังรากเทียมครั้งใหม่ ซึ่งอาจจะต้องใช้เทคนิคการเติมกระดูกร่วมด้วยในการรักษาทำให้เสียค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น
  3. การออกกำลังกายหนักๆ หรือการออกกำลังกายประเภทต้องใช้แรงปะทะ เพราะจะทำให้เกิดอุบัติเหตุการกระทบหรือกระแทกบริเวณที่ทำรากเทียม อาจทำให้รากเทียมเกิดความเสียหายและคนไข้เกิดอาการเจ็บปวด
  4. หลีกเลี่ยงกีฬาทางน้ำ โดยเฉพาะหลังการทำรากเทียมใหม่ๆ ในช่วง 1 – 2 เดือนแรก เพราะอาจทำให้แผลหรือบริเวณที่ทำรากเทียมเกิดการติดเชื้อ
  5. ลดการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ เนื่องจากสองสิ่งนี้เป็นตัวการที่ทำให้เหงือกอักเสบและติดเชื้อได้ง่ายที่สุด เพราะฉะนั้นควรลดการดื่มและการสูบ เพื่อให้สุขภาพช่องปากและรากเทียมมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น

กำลังใส่รากเทียม

ความผิดปกติเมื่อ กำลังใส่รากเทียม

  • มีอาการเหงือกบวม ซึ่งอาการดังกล่าวเป็นอาการข้างเคียงหลังการทำรากเทียมเป็นปกติอยู่แล้ว แต่หากสังเกตแล้วว่ามีอาการบวมผิดปกติ หรือมีอาการเจ็บปวดจนทนไม่ไหวร่วมด้วยเป็นเวลาหลายวัน ให้รีบเข้าพบทันตแพทย์เพื่อดูแลอาการทันที เพราะอาจเป็นไปได้ว่ารากเทียมที่ใส่นั้นอาจมีการติดเชื้อ
  • เจ็บฟันข้างเคียง หรือมีอาการชาหรือมีเลือดออกที่โพรงจมูก มีหนอง บริเวณฟัน เหงือก ริมฝีปาก หรือลิ้น และมีไข้ร่วมด้วย หลังใส่รากเทียมไปแล้วประมาณ 1 – 2 วัน ให้รีบเข้าพบทันตแพทย์เพื่อดูอาการทันที

การดูแลตัวเองให้ดีที่สุดตอน กำลังใส่รากเทียม

  • ทำความสะอาดช่องปากและดูแลให้ช่องปากสะอาดอยู่เสมอ สามารถแปรงฟันได้ปกติ โดยช่วงแรกอาจจะเลือกใช้แปรงขนนุ่มสำหรับหลังผ่าตัดโดยเฉพาะ
  • สามารถประคบเย็นด้านนอกบริเวณจุดที่ใส่รากเทียมได้หลังการผ่าตัด แต่ห้ามอมน้ำแข็งเด็ดขาด
  • เลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสม เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุกับรากฟันเทียมระหว่างการเคี้ยวอาหาร รวมทั้งในระยะแรกๆ ควรลดอาหารรสจัด เช่น เปรี้ยวจัด เค็มจัด และอาหารร้อนจัดด้วย
  • ไม่ควรใช้ไม้จิ้มฟันแคะบริเวณที่ทำรากฟันเทียม หรือใช้ลิ้นดุนเล่น เพราะจะทำให้แผลหายยาก

เพราะฉะนั้นการดูแลตนเองและคอยสังเกตตนเองให้ดีถ้าคุณอยู่ในระหว่างการใส่รากเทียมเป็นเรื่องที่ละเลยไม่ได้ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและอันตรายที่จะกระทบกับรากเทียม ก็จะทำให้รากเทียมของคุณมีการใช้งานได้อีกยาวนาน หรือท่านใดที่กำลังสนใจการทำรากเทียมอยู่ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และเข้ารับการรักษาจากทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยใช้เทคโนโลยีรากเทียมที่ทันสมัยได้ที่ BFC Dental ทุกสาขา

 

 

Recommended Posts