ทันตกรรมรากเทียม

รากฟันเทียมแบบเร็ว

“รากฟันเทียมเสร็จเร็วใน 10 นาที ไม่ต้องรอนานถึง 6 เดือน ฟันสวยเหมือนธรรมชาติ บดเคี้ยวอาหารได้อร่อย ช่วยให้สุขภาพดี”

สมัยก่อนเวลาต้องสูญเสียฟันแท้ ไม่ว่าจะเป็นฟันซี่หน้าหรือฟันกราม ก็มักใส่ฟันปลอมชนิดถอดออกได้ ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีทางทันตกรรมได้รับการพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ จึงมีการคิดค้นรากฟันเทียม โดยทำจากโลหะ Titanium ที่มีความปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งบางคนอาจสงสัยว่ารากเทียมแบบใหม่ดีกว่ารากเทียมแบบเก่าอย่างไร

bfc_implants7

รากเทียมแบบเก่า

เป็นโลหะไททาเนียมธรรมดา เวลาจะใส่รากเทียมต้องรอ 6 เดือนจึงจะใส่รากเทียมได้ ทำให้คนไข้ต้องรอคอย ต่อมาจึงมีการพัฒนารากเทียมให้สามารถทำเสร็จแล้วใส่ฟันได้เลย ไม่ต้องรอนานเหมือนสมัยก่อนแล้ว

bfc_implants6

รากเทียมแบบใหม่

เสร็จเร็วทันใจใน 10 นาที ที่ BFC Dental ด้วยการใช้ไกด์ผ่าตัด 3 มิติ

  • ขั้นตอนที่ 1 คนไข้รับการพิมพ์ปาก พร้อมถ่ายภาพรังสีสามมิติ
  • ขั้นตอนที่ 2 ทันตแพทย์กำหนดตำแหน่งรากเทียมในโปรแกรมซอฟท์แวร์ ใส่รากฟันเทียมสามมิติ
  • ขั้นตอนที่ 3 เข้าขั้นตอนผลิตไกด์ผ่าตัดสามมิติตามที่ทันตแพทย์ออกแบบวางแผนกำหนดตำแหน่งรากเทียมไว้
  • ขั้นตอนที่ 4 ไกด์ผ่าตัดสามมิติทำจากวัสดุอะคริลิกเรซินที่ถูกเตรียมช่องให้ทันตแพทย์ใส่รากฟันเทียมในขนาดและตำแหน่งที่เหมาะสมให้กับคนไข้
  • ขั้นตอนที่ 5 ไกด์ผ่าตัดสามมิติทำจากวัสดุอะคริลิกเรซินที่ถูกเตรียมช่องให้ทันตแพทย์ใส่รากฟันเทียมในขนาดและตำแหน่งที่เหมาะสมให้กับคนไข้

คำถามที่พบบ่อย

ข้อดีของการใส่รากเทียม

  • การใส่รากเทียมเหมือนการลงเสาเข็ม ทำให้กระดูกไม่หด ไม่ร่น จากนั้นทำครอบฟันใส่หลังจากถอนฟัน คุ้มกับการเจ็บครั้งเดียว
  • หลังจากแผลผ่าตัดหายกระดูกจะไม่ยุบ ดูสวยงามเหมือนฟันแท้ มองแทบไม่ออกว่าฟันซี่ไหนใส่รากเทียม
  • รากเทียมทำให้รับประทานอาหารได้อร่อยเพราะมีฟันบดเคี้ยวอาหารได้ดี
  • หากเป็นฟันหน้า แพทย์จะวัดขนาดของราก แล้วฝังรากเข้าไปในวันเดียวกัน แล้วทำครอบฟันที่คล้ายของเดิมมาก เท่านี้ก็จะได้ฟันที่สวยงาม ยิ้มได้อย่างมั่นใจ

ข้อเสียของการปล่อยให้ฟันโบ๋ ฟันหลอ

ถ้าปล่อยให้ฟันโบ๋หรือฟันหลอ จะทำให้กระดูกค่อย ๆ ร่นไปเรื่อย ๆ ภายหลังคิดจะใส่รากเทียมจะทำให้ใส่ได้ยากขึ้น เพราะอาจต้องปลูกกระดูกเพิ่ม หรือต้องทำสะพานฟันหรือฟันปลอมให้แทน ซึ่งไม่คงทนเหมือนการใส่รากเทียม สามารถอยู่ได้ประมาณ 1-2 ปี จากนั้นกระดูกส่วนนี้ที่ไม่มีรากฟันก็จะยุบลง

ทำรากเทียมแล้วจะถาวรมั้ย

ตามปกติรากเทียมสามารถอยู่กับเราได้ตลอดชีวิต ยกเว้นผู้ที่มีโรคบางชนิดหรือมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่มีผลเสียต่อรากเทียม เช่น มีโรคกระดูกพรุน เคยฉายแสงรักษาโรคมะเร็งบริเวณคอหรือศีรษะ เป็นเบาหวาน หรือสูบบุหรี่ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเราสามารถระมัดระวังได้ เช่น เป็นเบาหวานแผลหายยาก คนไข้เบาหวานก็ต้องควบคุมน้ำตาลให้อยู่ในระดับปกติ หรือการสูบบุหรี่ก็ทำให้แผลหายยากและเกิดการติดเชื้อได้ง่าย นอกจากนี้ ต้องดูแลความสะอาดของช่องปาก เช่น แปรงฟัน ดูแลสุขภาพปากและฟัน ไม่ทำให้หินปูนเกาะที่รากเทียม ทำให้เกิดการติดเชื้อ หรือไม่ควรเอาฟันไปงัดของแข็งจนฟันแตก

ใส่รากเทียมเจ็บมั้ย

การทำรากเทียมต้องผ่าตัดคล้ายกับการอุดฟันซี่ใหญ่ ต้องมีการฉีดยาชาแล้วกรอ โดยกรอที่กระดูก หากช่องฟันใหญ่เกินไปก็จะทำการปลูกกระดูกโดยใส่เม็ดกระดูกสังเคราะห์ให้เต็ม ระหว่างทำจะมีอาการเจ็บน้อยกว่าถอนฟันเล็กน้อย โดยขึ้นอยู่กับความยากง่ายของเคสนั้น ๆ

จัดฟันอยู่จะใส่รากเทียมได้มั้ย

ถ้าจัดฟันอยู่ควรจัดฟันให้เสร็จก่อนแล้วค่อยใส่รากเทียม เพราะการจัดฟันจะทำให้ฟันเคลื่อนที่ ในขณะที่รากเทียมเคลื่อนที่ไม่ได้

การดูแลหลังทำรากเทียม

ดูแลสุขภาพของช่องปากและฟันตามปกติ แต่เน้นให้ดูแลทำความสะอาดบริเวณที่ทำฟันรากเทียมและเหงือกโดยรอบเป็นพิเศษเพื่อไม่ให้หินปูนมาเกาะ ควรใช้ไหมขัดฟันร่วมกับไหมขัดฟันชนิดพิเศษ (Superfloss) แปรงซอกฟัน เพื่อช่วยขจัดเศษอาหารได้ดีขึ้น นอกจากนี้ ในช่วงปีแรกหลังการทำฟันถาวรด้วยรากเทียมไทเทเนียม ทันตแพทย์จะนัดตรวจฟันเป็นช่วง ๆ (1 เดือน 3 เดือน และ 6 เดือน) หลังผ่านไป 1 ปี ควรมาพบทันตแพทย์เป็นประจำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพราะอาจพบปัญหาฟันซี่อื่นๆ เช่น ฟันผุ หินปูน เพื่อทำการรักษาฟันและเหงือกให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอ

ส่วนประกอบของการทำรากเทียม

  • รากฟันไททาเนียม (fixture) มีลักษณะคล้ายรากฟัน สามารถเชื่อมติดกับกระดูกขากรรไกรได้ดี และไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ ต่อเนื้อเยื่อ มีความแข็งแรงคงทน สามารถรับแรงบดเคี้ยวและคงรูปได้ดี
  • เดือยรองรับครอบฟัน (Abutment) เป็นส่วนที่ใส่ลงบนรากฟันไทเทเนียมเพื่อให้ครอบฟัน ยึดติดแน่นกับรากฟันไทเทเนียม
  • ครอบฟัน (Crown) เป็นส่วนที่อยู่ด้านบนของเหงือก ทำด้วยเซรามิค (porcelain) เลียนแบบรูปร่างและสีของฟันธรรมชาติ หรือทำด้วยโลหะ ทำหน้าที่เป็นตัวรับแรงบดเคี้ยวอาหาร

คุณเหมาะกับการทำรากเทียมหรือไม่

ก่อนทำต้องมีการประเมินคุณภาพของกระดูกขากรรไกรก่อนว่ามีความหนาแน่นเพียงพอจะเป็นที่อยู่ของรากฟันไทเทเนียมหรือไม่ หากมีความหนาแน่นไม่เพียงพอก็ต้องรอการฝังรากเทียมไปก่อนเพื่อปลูกกระดูกให้มีความหนาพอที่จะฝังรากเทียมได้ ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี (ปกติ 3-4 เดือน)

ผู้ที่เหมาะกับการทำรากเทียม

  • ต้องการใส่ฟันเพียงซี่เดียวโดยที่ฟันข้างเคียงยังอยู่ในสภาพดี
  • รู้สึกไม่สะดวกและไม่ชอบใส่ฟันปลอมแบบถอดได้
  • ไม่ต้องการกรอฟันในการทำฟันปลอมชนิดติดแน่น
  • ต้องการใส่รากเทียมทั้งปาก

ผู้ที่ไม่เหมาะกับการทำรากเทียม

  • มีโรคประจำตัวที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • มีสุขภาพจิตไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถควบคุมตนเองหรือสื่อสารให้เข้าใจได้
  • อายุน้อยที่ยังมีการเจริญเติบโตของกระดูกขากรรไกร
  • คนที่ได้รับยารักษากระดูกพรุน (bisphosphonate)

OPENING HOURS

Open Daily
9:00 AM – 8:00 PM

นัดหมาย